Slideshow

ADS468x60

.

บันทึกการประชุม คณะกรรมาธิการส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรกรรม

 
บันทึกการประชุม
คณะอนุกรรมาธิการปศุสัตว์ ประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
ในคณะกรรมาธิการส่งเสริมราคาผลิตผลเกษตรกรรม สภาผู้แทนราษฎร
ครั้งที่ ๕๖ วันอังคารที่ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔
ห้องประชุมคณะกรรมาธิการหมายเลข ๒๐๙ ชั้น อาคารรัฐสภา

อนุกรรมาธิการผู้มาประชุม คือ
.   นายอลงกต         มณีกาศ                     ประธานคณะอนุกรรมาธิการ
 นายพิเชษฐ์       เชื้อเมืองพาน              รองประธานคณะอนุกรรมาธิการ คนที่หนึ่ง
.   นายชุมพล        จุลใส                           รองประธานคณะอนุกรรมาธิการ คนที่สอง
.     นายสิทธิพร         บุรณนัฏ                   อนุกรรมาธิการ
.    นายพงษ์ศักดิ์     พิมพงศ์                     อนุกรรมาธิการ
.   นายพายัพ        ยังปักษี                         อนุกรรมาธิการ
.   นายภาสวัฒน์     บุญสม                        อนุกรรมาธิการ
  นายทศสีห์       โควสุรัตน์                     อนุกรรมาธิการ
 นายกิตติศักดิ์     พรหมรัตน์                   อนุกรรมาธิการ
๑๐.  นายวิบูลย์         ไวยสุระสิงห์                เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการ   

ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการผู้มาประชุม คือ
.    นายธนิต            บุญรอด
.   นายอนันต์           ฤกษ์ดี
๓.    ดร.เลี้ยม               วงศ์ผาบุตร

ผู้เข้าร่วมประชุม คือ
๑.    นายเสน่ห์  ผลประสิทธิ์   อดีตผู้เชี่ยวชาญกรมประมง ระดับ ๑๐
เริ่มประชุมเวลา ๑๐.๐๕ นาฬิกา
เมื่ออนุกรรมาธิการมาครบองค์ประชุมแล้ว ประธานคณะอนุกรรมาธิการได้กล่าวเปิดประชุมและดำเนินการประชุมตามระเบียบวาระการประชุม สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

ระเบียบวาระที่   เรื่องที่ประธานแจ้งต่อที่ประชุม
ไม่มี

ระเบียบวาระที่   รับรองบันทึกการประชุม
รับรองบันทึกการประชุม ครั้งที่ ๕๔ วันอังคารที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๕๔ และบันทึกการประชุม ครั้งที่ ๕๕ วันอังคารที่ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  โดยไม่มีการแก้ไข

ระเบียบวาระที่   พิจารณาศึกษาแนวทางการเพาะเลี้ยงและส่งเสริมตลาดการค้าปลาบึก
นายอลงกต มณีกาศ  ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ได้ กล่าวถึงเรื่องการพิจารณาศึกษา          แนวทางการเพาะเลี้ยงและส่งเสริมตลาดการค้าปลาบึก โดยได้ขอข้อคิดเห็นต่าง ๆ จากที่ประชุม โดยมีรายละเอียดการพิจารณา ดังนี้
นายเสน่ห์ ผลประสิทธิ์ อดีตผู้เชี่ยวชาญกรมประมง ได้ชี้แจงต่อที่ประชุมสรุปได้คือ ปลาบึกเป็นปลาที่มีคุณสมบัติเป็นปลาเศรษฐกิจหลายประการคือ
๑.  มีอัตราการเจริญเติบโตเร็ว
๒.  เนื้อมีรสชาติอร่อย
๓.  ทนทานต่อโรคติดต่อ
๔.  ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ได้ดี
๕.  เป็นที่ต้องการของตลาด
เกษตรกร ได้เลี้ยงปลาบึกเพื่อการพาณิชย์กว่า ๗ ปีแล้ว โดยเกษตรกรรายย่อยมีผลผลิตประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ ตัว ปลาบึกเป็นปลาที่โตเร็วเลี้ยง ๒ ปี ก็มีน้ำหนักถึงประมาณ ๒๐ กิโลกรัม เนื้อปลาบึกมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ ๑๐๐ บาท จึงเป็นปลาที่ทำรายได้ให้ผู้เลี้ยงได้ดี ซึ่งธรรมชาติของปลาบึกตั้งแต่เป็นไข่จนตัวโรมีขนาด ๕๐ เซนติเมตร ขึ้นไป จะเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารจากเดิมกินสัตว์น้ำขนาดเล็ก เช่น ไรน้ำ ลูกกุ้ง ลูกปลา เปลี่ยนเป็นกินพืช เช่น สาหร่ายในน้ำหรือหากนำปลาบึกมาเลี้ยง  ในบ่อดินปลาบึกก็จะกินดินตะกอน ซากพืช ซากสัตว์ ทำให้เนื้อปลาบึกมีโปรตีนสูง รสชาติอร่อย หรือ อาจให้อาหารสำเร็จรูปโดยควรให้อาหารที่มีระดับโปรตีนไม่เกิน ๒๐% ปลา บึกก็จะมีอัตราเจริญเติบโตได้ดี และจุดเด่นอีกประการของปลาบึกคือ สามารถดำรงชีวิตในน้ำเค็มได้และทนต่อโรคได้ดี ทว่าในปัจจุบันเนื้อปลาบึกยังไม่อาจส่งออกนอกราชอาณาจักรได้ เนื่องจากปลาบึกเป็นสัตว์ที่ห้ามส่งออกตามอนุสัญญาไซเตส ซึ่งหากผู้ค้ารายใดต้องการส่งออกก็ต้องขออนุญาตเป็นราย ๆ ไป
นายอลงกต มณีกาศ  ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ได้ซักถามต่อที่ประชุมสรุปได้คือ
- เกษตรมีวิธีเลี้ยงลูกปลาบึกอย่างไร ให้อาหารชนิดใด
- สามารถเลี้ยงปลาบึกร่วมกับปลาชนิดอื่นได้หรือไม่
นายเสน่ห์ ผลประสิทธิ์  อดีตผู้เชี่ยวชาญกรมประมง ได้ตอบข้อซักถามต่อที่ประชุมสรุปได้คือ
- เกษตร อาจให้อาหารสำเร็จรูปหรือเศษอาหารโดยในปีแรกควรให้อาหารที่มีโปรตีนสูง ปีที่ ๒ ควรให้อาหารชนิดเดียวกับปลาดุกใหญ่ ปลาบึกเป็นปลาที่กินอาหารได้แทบทุกชนิดเลี้ยงง่าย มีความอดทนสูง บ่อที่เลี้ยงควรเป็นบ่อดิน ปลาบึก ๑ ตัว ใช้เนื้อที่ ๑๖ ตารางเมตร หรือบ่อเนื้อที่ ๑ ไร่ สามารถเลี้ยงปลาบึกได้ ๑๖๐ ตัว
- ปลา บึกสามารถเลี้ยงรวมกับปลาชนิดอื่นได้เกษตรกรบางรายเลี้ยงรวมกับปลานิล และ ยังช่วยกำจัดสิ่งปฏิกูลต่าง ๆ ในบ่อปลานิลได้ โดยเกษตรกรสามารถผสมอาหารเลี้ยงปลาบึกเองก็ได้แต่หากเกษตรกรบางรายให้ปลาบึก กินแต่มูลสัตว์ เช่น มูลไก่ มูลวัว อาจทำให้ปลาบึกได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ
นายพายัพ ยังปักษี อนุกรรมาธิการ ได้ซักถามต่อที่ประชุม ดังนี้
- ผู้ชี้แจงได้ทำการฝังไมโครชิพ ไว้ในตัวปลาบึกหรือไม่
- ค่า ph และความลึกของน้ำมีผลต่อการเพาะเลี้ยงปลาบึกหรือไม่
- ปัจจุบันมีจำนวนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาบึกเพียงพอหรือไม่
นายเสน่ห์ ผลประสิทธิ์  อดีตผู้เชี่ยวชาญกรมประมง ได้ตอบข้อซักถามต่อที่ประชุมสรุปได้คือ
-ได้ มีการฝังไมโครชิพไว้ในตัวพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาบึกและได้จัดหาพ่อพันธุ์แม่ พันธุ์จากฟาร์ม อื่นมาเพาะเลี้ยงไว้ เมื่อครบ ๕ ปี จึงทำการแยกพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ออกอีกครั้งหนึ่ง โดยปลาบึกจะโตเต็มวัยพร้อมสืบพันธุ์ได้ต้องมีอายุ ๑๐ ปี ขึ้นไป
คุณภาพของน้ำตามแหล่งน้ำทั่วไป สามารถเลี้ยงปลาบึกได้หมดเว้นแต่น้ำที่มีค่า ph               ความ เป็นกรดสูง เช่น แหล่งน้ำบริเวณรังสิต ไม่ควรเลี้ยงปลาบึกแต่ก็สามารถแก้ไขได้เบื้องต้นด้วยการโรยปูนขาว และบ่อที่จะเลี้ยงควรมีความลึกขึ้นต่ำ ๒.๕๐ เมตร
- ยัง ไม่อาจประเมินจำนวนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาบึกได้ ซึ่งผู้เลี้ยงบางรายในจังหวัดภาคกลาง เช่น จังหวัดนครสวรรค์ได้ทำการผสมพันธุ์ปลาลูกผสมขั้น โดยนำน้ำเชื้อปลาสวายผสมกับไข่ของปลาบึก จนกลายเป็นลูกผสมเรียกว่า “บิ๊กสวาย” ซึ่งมีรูปร่างคล้ายกับปลาบึก แต่ก็มีวิธีสังเกตคือ ปลาบึกเมื่อโตครบ ๑ ปี แล้วจะไม่มีฟันแต่ปลาสวายยังคงมีฟันยังคงมีฟันอยู่

นายวิบูลย์ ไวยสระสิงห์  เลขานุการคณะอนุกรรมาธิการ ได้ซักถามต่อที่ประชุมสรุปได้คือ
พื้นที่บริเวณใดซื้อปลาบึกไปเลี้ยงเป็นปลาบึกขุน
-  หากเพาะเลี้ยงปลาบึกนาน ๑ ปี จะได้ผลผลิตมากน้อยเพียงไร
นายเสน่ห์ ผลประสิทธิ์  อดีตผู้เชี่ยวชาญกรมประมง ได้ตอบข้อซักถามต่อที่ประชุมสรุปได้คือ
-  เกษตรกรภาคอีสานนิยมเลี้ยงปลาบึกขุน
- หากเพาะเลี้ยงปลาบึกนาน ๑ ปี จะได้ผลผลิตเป็นลูกปลาบึกประมาณ ๑๐๐,๐๐๐ –๒๐๐,๐๐๐ ตัว
ดร.เลี้ยม วงศ์ผาบุตร ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ ได้ซักถามต่อที่ประชุมสรุปได้คือ
-  มีการจำกัดจำนวนการซื้อลูกปลาบึกขั้นต่ำหรือไม่
-  ลูกปลาบึกที่ผู้ชี้แจงจำหน่ายสามารถนำมาผสมเทียมได้หรือไม่
- หาก ต้องการเลี้ยงปลาบึกโดยใช้เนื้อที่ ประมาณ ๒๐ ไร่ ต้องมีค่าใช้จ่ายประมาณเท่าใด และหลังจากคำนวณต้นทุนแล้วจะคงเหลือกำไรประมาณกี่เปอร์เซนต์
นายเสน่ห์ ผลประสิทธิ์  อดีตผู้เชี่ยวชาญกรมประมง ได้ตอบข้อซักถามต่อที่ประชุมสรุปได้คือ
- ไม่ได้มีการจำกัดจำนวนการซื้อขั้นต่ำไว้
- ลูกปลาบึกที่เกิดจาการผสมเทียมยังสามารถนำไปผสมเทียมได้ต่อไปเนื่องจากยังคงสายพันธุ์แท้อยู่
- หาก ต้องการเลี้ยงปลาบึกโดยใช้เนื้อที่ประมาณ ๒๐ ไร่ ต้องใช้ลูกปลาบึกประมาณ ๓,๒๐๐ ตัว คิดเป็นราคาประมาณ ๑๒๘,๐๐๐ บาท เมื่อจำหน่ายหมดจะได้กำไรประมาณ ๕๐%
นายอลงกต มณีกาศ ประธานคณะอนุกรรมาธิการ ได้ ให้ข้อเสนอแนะและซักถามต่อที่ประชุมสรุปได้คือ ควรมีการตั้งตลาดกลางให้ผู้ผลิตผู้ซื้อได้พบปะกันโดยตรงโดยอาจเริ่มจัดตั้ง ตลาดกลางที่จังหวัดเชียงรายก่อน
- รสชาติเนื้อปลาบึกที่เพาะเลี้ยงกับปลาบึกตามธรรมชาติแตกต่างกันหรือไม่
- หากเลี้ยงปลานิลร่วมกับปลาบึกในบ่อเดียวกันจะเกิดผลดีหรือเสียอย่างไร
- ลูกปลาบึกที่เกิดจากการผสมเทียมและลูกปลาบึกที่เกิดตามธรรมชาติวิธีใดที่ให้ผลผลิตดีกว่า 
นายเสน่ห์ ผลประสิทธิ์  อดีตผู้เชี่ยวชาญกรมประมง ได้ตอบข้อซักถามต่อที่ประชุมสรุปได้คือ
- รสชาติของเนื้อปลาบึกตามธรรมชาติอร่อยกว่าแต่รสชาติของเนื้อปลาบึกที่เกิดจากการเพาะเลี้ยงก็ใกล้เคียงกับเนื้อปลาบึกตามธรรมชาติ
- หาก เลี้ยงปลาบึกร่วมกับปลานิลจะทำให้ปลาบึกเจริญเติบโตช้าลงเพราะปลาแย่งอาหาร แย่งแหล่งที่อยู่กัน ออกซิเจนในน้ำลดลง ปลานิลมีอัตราการตายสูงกว่าปลาบึกเนื่องจากมีความอดทนน้อยกว่าปลาบึก
- ลูกปลาบึกที่เกิดจากการผสมเทียมมีอัตราการรอดชีวิตสูงกว่า
นายพายัพ  ยังปักษี อนุกรรมาธิการ ได้ซักถามต่อที่ประชุมคือ
- หากผู้ใดต้องการส่งออกปลาบึกออกภายนอกราชอาณาจักรต้องทำการขออนุญาตผ่านตัวผู้ชี้แจงใช่หรือไม่
- สามารถเลี้ยงปลาบึกในบ่อซีเมนต์ได้หรือไม่
นายเสน่ห์ ผลประสิทธิ์  อดีตผู้เชี่ยวชาญกรมประมง ได้ตอบข้อซักถามต่อที่ประชุมสรุปได้คือ
- สามารถขออนุญาตตามขั้นตอนของอนุสัญญาไซเตสได้ ไม่ต้องผ่านผู้ชี้แจง
- สามารถเลี้ยงปลาบึกในบ่อซีเมนต์ได้แต่อัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าบ่อดินเนื่องจากขาด           แร่ธาตุจากสารอาหารธรรมชาติ
จากนั้น คณะอนุกรรมาธิการได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมสรุปได้ดังนี้
- หากมีผู้นำปลาบึกไปประกอบอาหาร เช่น ก๋วยเตี๋ยวเนื้อปลาบึกน่าจะเป็นการเพิ่มมูลค่าและน่าจะเป็นธุรกิจใหม่ที่น่าลงทุน
- เนื้อปลาบึกมีรสชาติดีอาจทดลองทำเป็นปลาบึกรมควัน และจัดทำเป็นสินค้า OTOP ทำรายได้เข้าสู่ท้องถิ่น
- การเลี้ยงปลาบึกอาจแบ่งเป็นห่วงโซ่ (Supply Chain) โดยแบ่งเป็นต้นน้ำ กลางน้ำปลายน้ำ
- การฝังไมโครชิพ ในปลาบึกทำให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าของสินค้าได้อีกทางหนึ่ง
จากนั้น นายเสน่ห์ ผลประสิทธิ์ อดีต ผู้เชี่ยวชาญกรมประมง ได้ให้ข้อคิดเห็นเพิ่มเติมคือ การแบ่งการเลี้ยงเป็นต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ น่าจะเป็นผลดีต่อผู้เลี้ยงปลาบึกเพราะสามารถขายปลาบึกได้รวดเร็วตามจุด ประสงค์ของผู้เลี้ยง เนื่องจากปลาบึกมีอัตราการเจริญเติบโตเร็วเฉลี่ย ๑ นิ้วต่อสัปดาห์
นายพายัพ  ยังปักษี อนุกรรมาธิการ ได้ซักถามต่อที่ประชุมสรุปได้คือ
ปัจจุบันจำนวนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาบึกเพียงพอหรือไม่ และปลาบึกอายุเท่าใดจึงนำมาผสมพันธุ์ได้
- มีการนำพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาบึกจากแม่น้ำโขงมาผสมพันธุ์บ้างหรือไม่
- กรมประมงได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมการเลี้ยงปลาบึกเพียงไร
- ผู้ที่เลี้ยงปลาบึกควรเป็นเกษตรกรขนาดใด จึงสามารถเข้าถึงแหล่งทุนได้
นายเสน่ห์ ผลประสิทธิ์  อดีตผู้เชี่ยวชาญกรมประมง ได้ตอบข้อซักถามต่อที่ประชุมสรุปได้คือ
ไม่ทราบจำนวนพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาบึกแน่ชัดและคุณภาพของไร่และน้ำเชื้อจะเสื่อมลงเมื่อปลาบึกมีอายุมากขึ้น
- ไม่ได้นำปลาบึกจากแม่น้ำโขงผสมพันธุ์เลยเนื่องจากปลาบึกในแม่น้ำโขงลดจำนวนลงมาก
-ปัจจุบันกรมประมงยังมิได้ให้ความสำคัญในเรื่องการเพาะเลี้ยงปลาบึกเท่าที่ควรเนื่องจากขาดข้อมูลที่ชัดเจน
-ควร เป็นเกษตรกรขนาดกลางที่มีพื้นที่มากพอที่จะสามารถขายปลาบึกได้เดือนละครั้ง และพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงปลาบึกควรเป็นพื้นที่ที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์
จากนั้น คณะอนุกรรมาธิการ ได้ซักถามต่อที่ประชุมสรุปได้คือ
-เนื้อปลาบึกและเนื้อปลาช่อนเนื้อปลาชนิดใดมีคุณค่าทางอาหารมากกว่ากัน
-มีความเป็นไปได้หรือไม่หากจะส่งเสริมให้เนื้อปลาบึกเป็นสินค้าระดับสูง
นายเสน่ห์ ผลประสิทธิ์  อดีตผู้เชี่ยวชาญกรมประมง ได้ตอบข้อซักถามต่อที่ประชุมสรุปได้คือ
-เนื้อปลาบึกและเนื้อปลาช่อนมีโปรตีนสูง ๒๐% เท่ากัน แต่เนื้อปลาบึกมีสาร omega 3 และ omega 6
-การ ส่งเสริมให้ปลาบึกเป็นสินค้าระดับสูง อาจสามารถทำได้โดยอาจเลี้ยงในกระชัง ที่มีน้ำสมบูรณ์สะอาดจะทำให้เนื้อปลามีรสชาติดีสะอาดน่ารับประทาน และต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบว่าบริโภคเนื้อปลาบึกแล้วมีประโยชน์ อย่างไร แต่หากผู้เลี้ยงรายใดต้องการส่งออกนอกราชอาณาจักรควรขออนุญาตตามขั้นตอน ของอนุสัญญาไซเตสล่วงหน้า ๑-๒ ปี จึงได้รับความสะดวก

ระเบียบวาระที่     เรื่องอื่นๆ
ที่ ประชุมได้มีมติให้ประชุมครั้งต่อไปในวันอังคารที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ เวลา ๐๙.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องประชุมคณะกรรมาธิการหมายเลข ๒๐๙ ชั้น ๒ อาคารรัฐสภา ๒
เมื่อได้เวลาพอสมควรประธานคณะอนุกรรมาธิการได้กล่าวขอบคุณผู้เข้าร่วมประชุมและกล่าวปิดประชุม     

เลิกประชุมเวลา ๑๑.๕๕ นาฬิกา
นายธีรพล  ประดิษฐบรรจง
วิทยากร ๔  สำนักกรรมาธิการ
ผู้จดบันทึกการประชุม
เรื่อง/ภาพ : นิตยสารสัตว์น้ำ