Slideshow

ADS468x60

.

เลี้ยงกุ้งกุลาดำ ลดต้นทุน เพิ่มรายได้

สภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากอดีตจนถึงปัจจุบัน จากการกระทำของมนุษย์มีส่วนสำคัญที่ทำให้สภาพแวดล้อมเสียไป ทั้งโดยความจงใจและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์จากกิจกรรมต่าง ๆ และจากการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้อย่างไม่คำนึงถึงผลเสียที่มีต่อสิ่งแวด ล้อม ทำให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ ตามมามากมาย โดยเฉพาะมลพิษทางน้ำ ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม สารเคมีที่ใช้ในการเกษตร ทำให้น้ำเกิดการเน่าเสียนำไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำไม่มีที่อยู่อาศัย และปริมาณสัตว์น้ำที่อยู่เป็นจำนวนมากกลับลดน้อยลง
ด้วย เหตุนี้เองเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการพัฒนารูปแบบการเลี้ยงสัตว์น้ำให้ทันกับสภาพแวดล้อม ที่เปลี่ยนแปลงไป อย่างเช่น การเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบผสมผสานร่วมกับสัตว์น้ำตัวอื่นๆ ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรนาเกลือพัฒนา ต.นาเกลือ อ.พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ ที่ยึดอาชีพการเลี้ยงกุ้งมามากกว่า 20 ปี
ทีมงานนิตยสารสัตว์น้ำมีโอกาสเดินทางไปสัมภาษณ์ คุณฤทธิชัย สุวรรณนาวิน เป็นลูกชายของคุณป้าสุนทร สุวรรณนาวิน ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรนาเกลือพัฒนา ถึงวิธีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบผสมผสานร่วมกับสัตว์น้ำตัวอื่นๆ ที่สามารถประกอบอาชีพการเลี้ยงกุ้งอยู่ได้จนถึงปัจจุบันนี้ เมื่อเทียบกับเกษตรกรหลายๆ ท่านที่ล้มหายตายจากกันไปหมดแล้ว
คุณ ฤทธิชัยกล่าวถึงความเป็นมาของการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบผสมผสานให้กับทีมงาน สัตว์น้ำฟังว่า เมื่อก่อนพื้นที่แถบนี้เป็นนาเกลือมาก่อน แต่พอมาระยะหลังเกลือมาราคาถูกลง ชาวบ้านและคุณพ่อของคุณฤทธิชัยจึงเริ่มหันมาทำนาเลี้ยงกุ้งขาว กุ้งแช่บ๊วซ กุ้งลาย และกุ้งรู กันมากขึ้น โดยจะมีวิธีการเลี้ยงแบบธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ อาศัยน้ำขึ้นน้ำลงเป็นตัวกำหนดการเก็บเกี่ยวผลผลิตแต่ละครั้ง ซึ่งหากย้อนกลับไปประมาณ 20 ปี ที่ผ่านมาพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์มาก มีทั้งกุ้งหอย ปู ปลา ให้จับเป็นจำนวนมาก เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ต้องดิ้นรนมากขนาดนี้ แต่เมื่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติเปลี่ยนแปลงไปมีโรงงาน และมีชุมชนเพิ่มมากขึ้น พื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ รวมทั้งสัตว์น้ำที่เคยอาศัยเป็นจำนวนมากกลับลดปริมาณลง โดยเฉพาะกุ้งขาวและกุ้งตามธรรมชาติชนิดอื่นๆ ที่มีปริมาณน้อยลง จึงจำเป็นต้องหากุ้งพันธุ์และหอยแครงมาเลี้ยงเพิ่มเติม เพื่อเป็นการเลี้ยงแบบผสมผสานและเป็นการลดต้นทุน เพิ่มมูลค่าสัตว์น้ำภายในบ่อเลี้ยงอีกทางหนึ่งด้วย แต่วิธีการเลี้ยงยังคงรูปแบบธรรมชาติ โดยอาศัยน้ำขึ้นน้ำลง เลี้ยงแบบไม่ต้องให้อาหาร
คุณฤทธิชัยได้อธิบายถึงวิธีการเลี้ยงและกระบวนการจัดการของการเลี้ยงสัตว์น้ำแบบผสมผสานอย่างเป็นขั้นตอนดังนี้
การเลี้ยงกุ้งกุลาดำจะใช้วิธีการเลี้ยงแบบธรรมชาติ มีพื้นที่ทั้งหมด 200 ไร่ แบ่งเป็น 3 บ่อ แต่ละบ่อจะมีคันบ่อแยกออกจากกันและมีประตูน้ำเชื่อมถึงกันไม่มีเครื่องตีน้ำ แต่จะอาศัยน้ำขึ้นน้ำลงหรือที่ชาวบ้านแถบนี้เรียกว่า น้ำเกิดน้ำตายเป็นตัวช่วยในการเปลี่ยนถ่ายน้ำและเป็นการเพิ่มออกซิเจนใน แหล่งน้ำ นอกจากนี้การขึ้นของน้ำทะเลยังนำอาหารที่เป็นแพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสัตว์ขนาดเล็ก เข้ามาในบ่อเลี้ยงเป็นอาหารของกุ้งและหอยแครงที่เลี้ยงเอาไว้ได้ ซึ่งการขึ้นลงของน้ำภายใน 1 เดือน จะแบ่งเป็น น้ำขึ้น 15 วัน และน้ำลง 15 วัน ก็คือสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ประมาณ 15 วัน ผลผลิตที่ได้ส่วนใหญ่จะเป็นกุ้งขาว กุ้งรู กุ้งแช่บ๊วซ และกุ้งลาย เป็นส่วนใหญ่
สำหรับ กุ้งกุลาดำที่จะนำมาเลี้ยงคุณฤทธิชัยได้กล่าวว่า ต้องเป็นช่วงที่น้ำภายในลำคลองเป็นน้ำกร่อย เพราะกุ้งกุลาดำไม่สามารถเลี้ยงในน้ำที่มีความเค็มที่สูงได้ ดังนั้นการเลี้ยงกุ้งกุลาดำภายใน 1 ปี สามารถเลี้ยงได้ 6 เดือน ก็คือ มิถุนายน ธันวาคม เท่านั้น ซึ่งรูปแบบและวิธีการเลี้ยงกุ้งกุลาดำมีดังนี้